วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์ ของ คอลลิน โบว์เลส

                                วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสั้น
                                        เจ้าตัวแสบส์ส์
                                ของ  คอลลิน โบว์เลส 





                                นางสาวน้ำฝน    พรมสากล
                                 รหัสนักศึกษา    573130010125
                        สาขาวิชาภาษาไทย    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์



                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวรรณกรรมเด็กและเยาวชน
                                ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา   2559
                                 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม




คำนำ
          เรื่องเจ้าตัวแสบส์ส์ เป็นการรวมเรื่องสั้น ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำที่เรียบง่าย ซึ่งผู้เขียนๆเรื่องออกมาได้อย่างธรรมชาติ รู้จักความคิดพฤติกรรมอันละเอียดอ่อนของเด็กในมีเรื่องชวนให้ผ่อนคลายมีอารมณ์ขันอย่างเหลือเชื่อ มีข้อคิด คติสอนใจ และปรัชญาในการอบรมลูกอย่างน่าทึ่ง รวมถึงเทคนิคในการเล่าเรื่องให้สนุกสนานจนผู้อ่านวางไม่ลง
          สำหรับการวิเคราะห์วรรณกรรมเล่มนี้ผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ โดยได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์เป็นหลักโดยใช้เรื่องราวในรวมเรื่องสั้นเจ้าตัวแสบส์ส์ ของ คอลลิน โบว์เลส  มาถ่ายทอดตามโครงสร้างเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
          ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่สนใจมากก็น้อยอีกทั้งยังสามารถนำแนวคิด  คุณค่าของเรื่องสั้นนี้  ไปเป็นแนวทางในการวิเคราะห์วรรณกรรม หรือปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้




                                                                                                         ผู้จัดทำ
                                                                                                    น้ำฝน  พรมสากล





สารบัญ
เรื่อง                                                                                           หน้า
          ชุดเก่ง
          ใครดื้อกันแน่?
          ซานตา(ผม)คลอส
          กรรมเกิน
          “พ่อขาาาาาาา….รู้ไหมมมมมมม
          ข่าวดี?
          พ่อไม่เมา
          ของหาย
          วันแม่
          ใครหนอทำให้พ่อรักในสิ่งที่ไม่ชอบ
         


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                     เรื่อง ชุดเก่ง
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องให้มีความขัดแย้งของตัวละครเพื่อเป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องเช่น ในเรื่องชุดเก่งเป็นเหตุการณ์ของลูกที่เอาแต่ใจและพ่อแม่ต้องคิดวิธีอบรมสั่งสอนลูกให้เชื่อฟังแก่นเรื่อง
แก่นเรื่อง
          คือใจความสำคัญของเรื่องซึ่งผู้แต่งมีการใช้แก่นเรื่องแสดงทัศนะมุ่งเสนอความคิดต่อผู้อ่านโดยผ่านตัวละครเช่น เรื่องชุดเก่งได้มีการวิธีการอบรมเลี้ยงดูลูก
ตัวละคร
          ผู้เขียนมีการสร้างตัวละครให้สมจริง  มีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติในเรื่องมีตัวละครในเรื่องที่เด่นๆมี 2 ตัวคือ คุณพ่อ  และ แอนนี่
          คุณพ่อคุณพ่อเป็นตัวละครที่คอยดูแลลูกและคิดหาวิธีดัดนิสัยลูกให้เป็นเด็กไม่ดื้อและเชื่อฟังพ่อแม่
          แอนนี่:   เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ดื้อและซน
ฉาก
          การใช้ฉากมีความสอดคล้องกับเรื่องราวสอดคล้องกับชื่อเรื่อง มีการใช้ภาษาบรรยายให้เห็นเด่นชัดตรงไปตรงมาเช่น
“หลังจากสิบนาทีแอนนี่ก็ได้ออกมาเต้นดิสโก้อย่างมีความสุขอย่างล้นเหลืออยู่กลางงานประดุจนกน้อยๆที่ลอยล่องเริงร่าอยู่บนฟากฟ้า…..ถึงแม้ว่าชุดแดงแรงฤทธิ์ของเธอออกมอมๆด้วยซอสมะเขือเทศและกางเกงในสีฟ้าก็ออกจะเปียกชื้นอยู่สักหน่อยก็ตาม(หน้า18)
บทสนทนา
          บทสนทนาในเรื่องมีบทสนทนาที่เด่นๆและแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวละครได้เด่นชัด เช่น
คุณพ่อ: “นี่….แม่สาวน้อย….แคทเทอรีนกับรูท….เสร็จแล้วนะทุกคนพร้อมที่จะไปกันแล้ว….ถ้าลูกไม่ลุกขึ้นเตียง….แต่งตัวละก็….พวกเราจะไปทำงานโดยไม่รอลูกนะ!!” (หน้า 15)


แอนนี่ : “ ก็ช่าง…..หนูไม่สนหรอก!”
          จากบทสนทนาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของตัวละครได้เด่นชัดโดยเฉพาะแอนนี่ที่เป็นคนดื้อและขี้เอาแต่ใจเป็นต้น
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
                   ผู้เขียนมีกลวิธีในการดำเนินเรื่องแบบให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องชุดเก่ง มีการใช้ภาษาเหมาสมกับวัย มีถ้อยคำที่ง่าย  กระชับ สละสลวย ไม่หยาบคายมากนัก ถูกต้องตามคามหมายไม่ซับซ้อนไม่ยากจนเกินไปและมีความเป็นธรรมชาติเหมือนเรื่องในชีวิตประจำวันจริงๆ เช่น “พอใกล้เวลาจะไปงานผมเข้าไปตามแอนนี่ที่ห้องนอนปรากฏว่าลูกยังใส่เฉพาะถุงเท้ายาวและรองเท้าที่ขัดเป็นมันปลาบเท่านั้น……และยืนตัวเปล่าเล่าเปลือย…..ตาจ้องเขม็งไปที่ตู้เสื้อผ้า(หน้า 12)
วิธีการตั้งชื่อเรื่อง
          ผู้เขียนมีการตั้งชื่อเรื่องสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและแก่นเรื่อง เช่น เรื่องชุดเก่ง ในเรื่องเป็นเรื่องราวของเด็กน้อยที่ไม่ยอมใส่ชุดอื่นนอกจากชุดสีแดงที่เปื้อนซอสมะเขือเทศ แต่พ่อแม่ไม่ให้ใสเพราะยังไม่ซัก แต่ผลสุดท้ายพ่อแม่ก็ยอมเพราะอยากให้ลูกมีความสุข
การสร้างความสะเทือนใจ
          เรื่องชุดเก่งเป็นเรื่องราวของครอบครัวเล็กๆที่ความวุ่นวายเกี่ยวกับชุดของลูกสาวเจ้าของบ้านและมีการสนทนาโต้ตอบกันสร้างความสนุกสนานตลกทำให้ผู้อ่านมีความสุขและวางหนังสือไม่ลง
                                     


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                เรื่อง ใครดื้อกันแน่?
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการโครงเรื่องให้มีความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรมของตัวละคร ทำให้เกิดเรื่องราวสนุกสนานเช่น เรื่องราวของลูกสาวครอบครัวหนึ่งที่ต้องการอยากจะกินขนมปังจนเกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น
แก่นเรื่อง
          แก่นเรื่องในเรื่องใครดื้อกันแน่? เป็นแก่นเรื่องแสดงทัศนะผู้แต่งมุ่งเสนอให้เห็นว่าเราไม่ควรที่จะถือสาเด็กเพราะเด็กยังไงก็ยังเป็นเด็กอยู่
ตัวละคร
          ผู้เขียนมีการสร้างตัวละครให้สมจริง  คือมีลักษณะเป็นธรรมชาติ  มีเอกลักษณ์ที่โดเด่น  มีบทบาทที่เหมาสมกับตัวละครเช่น  ตัวละครในเรื่องที่หลักๆมีอยู่ 3  ตัวละคร คือ
          คุณพ่อ: คุณพ่อเป็นคนอบรมสั่งสอนและดูแลลูกๆ
          คุณแม่: คุณแม่เป็นคนคนห้ามลูกไม่ให้กินขนมปังลายชิ้นจนเกิดเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้น
          แคทเทอรีน : เป็นเด็กสามขวบที่มีอุปนิสัยที่เอาแต่ใจและดื้อ เป็นตัวละครหลักของเรื่อ
ฉาก
          ฉากในเรื่องสอดคล้องกับโครงเรื่องและมีความสมจริงแสดงให้เห็นเด่นชัดคือ สภาพห้องของ         แคทเทอรีน เช่น “ผมตามแคทเทอรีนขึ้นไปบนบ้านหลังจากที่แอได้วิ่งเข้าห้องของเธอ พอเปิดประตูเข้าไปผมแทบจะลมใส่  เพราะสภาพห้องเหมือนถูกโจนปล้น ข้าวของรื้อค้นกระจุยกระจาย กลาดเกลื่อนเต็มพื้นห้องไปหมด(หน้า 22)






บทสนทนา
          ในเนื้อเรื่องมีการสนทนาเยอะมากบทสนทนามีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องเหมาะสมกับตัวละครและมีบทสนทนาที่แสดงถึงอุปนิสัยของตัวละครได้เด่นชัดเช่น
แคทเทอรีน: “จะเอาขนมปังกรอบ….อีกกกกก
คุณพ่อ : “เมื่อฉันบอกว่าไม่หมายความว่าไม่….ถ้าไม่หยุดร้องไห้ละก็ฉันจะตี
แคทเทอรีน: “จะเอาขนมปังกรอบ….อีก(หน้า 22)
          จากบทสนทนาจะเห็นถึงความดื้อรั้นของตัวละครและมีตัวละครที่เป็นคุณพ่อที่พยายามจะสั่งสอนลูก
เป็นต้น
กลวิธีในการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีการดำเนินเรื่องโดยให้ตัวละครเป็นคนเล่าเรื่องมีการสร้างความขัดแย้งให้ตัวละครเพื่อให้เกิดความวุ่นวายและเกิดเหตุการณ์ต่างๆให้เรื่องดำเนินได้ด้วยความสนุกสนาน
วิธีการตั้งชื่อเรื่อง
          การตั้งชื่อเรื่องมีความสอดคล้องกับกับเนื้อเรื่องมีความกะทัดรัดอ่านแล้วสื่อความหมายได้ง่ายๆและไม่ทำให้เด็กๆสับสน  เช่น ชื่อเรื่องใครดื้อกันแน่?
การสร้างความสะเทือนใจในเรื่อง
          เป็นการสร้างความสะเทือนใจแบบสุขใจคือ ในเรื่องมีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมายแต่สุดท้ายก็มีการลงเอยด้วยดีเช่น  “หลังอาหารเช้าเธอเด็ดดอกไม้จากข้างบ้าน..ซึ่งที่จริงเธอถอนมาทั้งต้นมากกว่า….มาให้เราไม่ว่ากันเพราะรู้ว่าเธอปรารถนาดีและเราก็เป็นครอบครัวที่สงบสุขดังเดิม(หน้า26)


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                เรื่อง ซานตา(ผม)ครอส
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องแบบความขัดแย้งของแหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องมีการจัดงานคริสต์มาสและคุณพ่อต้องแต่งตัวเป็นซานตาคลอส แต่เนื่องด้วยปีอากาศร้อนทำให้คุณพ่อที่แต่งตัวเป็นซานตาคลอสเป็นลมทำให้ลูกๆเกิดความสงสัยว่าซานตาคลอสเป็นใคร
แก่นเรื่อง
แก่นเรื่องซนตา(ผม)ครอสเป็นแก่นที่แสดงอารมณ์คือเป็นเรื่องที่แสดงความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้เกิดความคล้อยตามเช่น พ่อที่ดีที่สุดคือทำให้ลูกมีความสุข
ตัวละคร
          ผู้แต่งมีการสร้างตัวละครให้มีความสมจริงโดยตัวละครมีกาดำรงชีวิตเหมือนคนในในปัจจุบัน ตัวละครในเรื่องที่เด่นๆมีอยู่ 3 ตัวละคร
          คุณพ่อ: คือคนที่คอยอบรมลูกๆและทำทุกอย่างให้ลูกมีความสุข
          คุณแม่: เป็นภรรยาที่ดีคอยดูแลคุณพ่อและครอบครัว
          แคทเทอรีน เป็นเด็กขี้สงสัยและคอยจับผิดซานตาคลอส
ฉาก
          ฉากในเรื่องมีความสอดคล้องกับเรื่องราวอารมณ์และบุคลิกลักษณะของตัวละครรวมไปถึงมีการใช้ภาษาในการบรรยายมีความเด่นชัด  กระชับ  ตรงไปตรงมาเช่น “ผมก็ทำการสั่นกระดิ่งเล็กๆที่ถือมา และครางอู้อี้ๆอยู่ในลำคอว่า “โฮโฮโฮ.ระหว่างที่เดินโซซัดโซเซไปตาทางเดินของห้องโถง พอเด็กหญิงแด็กชายเห็นก็ตกใจกลัววิ่งไปซุกอกของแม่ๆของตัวเอง.(หน้า 32)


บทสนทนา
          ในเนื้อเรื่องมีการใช้บทสนทนาที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นถ้อยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันและบทสนทนาก็เหมาะสมกับบุคลิกของตัวละครเช่น
แคทเทอรีน: “ ซานตาคลอสไม่ค่อยอ้วนเลยนะคะพ่อ
แคทเทอรีน: “ชุดของซานตานะยัดหมอนเต็มตัวเลยคล้ายๆกับหมอนโซฟาของบ้านเรานี่แหละพ่อ
คุณพ่อ: จริงเหรอลูก
          จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นว่าผู้แต่งมีการใช้คำพูดของตัวละครแบบเรียบง่ายมีความเป็นธรรมชาติเข้าใจง่ายและเป็นคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีกลวิธีการดำเนินเรื่องแบบให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยในเรื่องคือตัวละครที่เป็นคุณพ่อเป็นคนเล่าเรื่องเสมือนผู้เขียนเรื่อง การใช้ภาษาเหมาะกับวัย และศักยภาพของเด็กในเนื้อเรื่องมีการ ดำเนินเรื่องตามลำดับปฏิทิน คือ เริ่มตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องจนมีการเกิดปัญหามากมายจนสุดท้ายจบอย่างมีความสุข
วิธีการตั้งชื่อเรื่อง
          เรื่องซานตา(ผม)คลอส เป็นการตั้งชื่อเรื่องสอดกับเหตุการณ์สำคัญในเรื่องเพราะ  ในเรื่องจะมีคุณพ่อที่ต้องแต่งตัวเหมือนซานตาครอสมาแจกของขวัญสำหรับเด็กๆ และมีการตั้งชื่อเรื่องได้อย่างเหมาะสมไม่ซับซ้อนทำให้เด็กเข้าใจง่ายชื่อเรื่องมีความสอดคล้องกับแก่นเรื่องเป็นต้น
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องมีการสร้างเรื่องสะเทือนใจแบบสุขใจคือในเรื่องมีความวุ่นวายมากมายแต่สุดท้ายผู้เขียนก็เขียนให้ผู้อ่านมีความประทับใจในตัวละครที่เป็นพ่อที่พยายามทำให้ลูกๆมีความสุข


                                      วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                เรื่องกรรมเกิน
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องให้มีความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรรมของตัวละคร เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น เช่น  เรื่องกรรมเกินเป็นเรื่องราวของลูกๆที่ไม่ลงรอยกันและทำให้คุณพ่อต้องมาเป็นผู้ตัดสินในเรื่องก็จะมีเรื่องราวต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น
แก่นเรื่อง
          ผู้เขียนได้มีการวางแก่นเรื่องเป็นการแสดงถึงทัศนะที่ผู้เขียนมุ่งสอนวิธีการเลี้ยงลูก เช่น เรื่องบางเรื่องเราควรให้ลูกเป็นคนแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
ตัวละคร
          ผู้เขียนมีการสร้าตัวละครให้สมจริงคือ ตัวละครในเรื่องมีลักษณะนิสัยเหมือนกันกับชีวิตจริงทำให้ผู้อ่านๆแล้วดูเหมือนเรื่องราวที่เป็นจริงและมีตัวละครมาประกอบทำให้เรื่องราวเข้มข้นขึ้นมาในเรื่องมีตัวละครหลักๆ คือ คุณพ่อ แอนนี่ แคทเทอรีน
          คุณพ่อ: เป็นตัวละครที่ต้องคอยดูและลูกๆและคอยกำราบลูกเมื่อลูกทำผิด
          แอนนี่: เป็นพี่สาวของแคทเทอรีนซึ่งเป็นคนที่เอาแต่ใจชอบแกล้องแคทเทอรีน
          แคทเทอรีน: เป็นน้องสาวของแอนนี่เป็นลูกสาวคนสุดท้องที่มีนิสัยเอาแต่ใจและเป็นเด็กดื้อและซน
ฉาก
          ในเรื่องกรรมเกิน ไม่ค่อยมีฉาก สถานที่ มากเท่าไหร่นักเพราะผู้เขียนจะเขียนบรรยายสั้นๆกะทัดรัดแต่ส่วนมากจะเป็นฉากเห็นการณ์ที่เด็กๆทะเลาะกัน เช่น “เช้าวันรุ่งขึ้น….ผมพร้อมที่จะสู้รบปรบมือกับเจ้าตัวแสบจอมยุ่งทั้งสองใหม่ถ้าไม่จำเป็นเราตั้งใจจะออกไปเที่ยวข้างนอก  แอนนี่และแคทเทอรีนต่างก็วิ่งแข่งกันไปทที่รถแย่งกันเป็นคนแรกที่จะเปิดประตูรถด้านเดียวกันทั้งๆยังมีประตูอีกตั้งสามประตูให้เปิด  เมื่อเข้าไปในรถได้ ก็แย่งกันอีกว่าใครจะนั่งตรงกลาง(หน้า 42)
          จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นฉากที่เด็กๆวิ่งแข่งกันขึ้นรถผู้เขียนไม่ได้เขียนบรรยายอะไรมากมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความซับซ้อนของเนื้อหา

บทสนทนา
          บทสนทนาในเรื่องมีการโต้ตอบในเรื่องและมีความสอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็กๆมีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายมีความกระชับเช่น
          คุณพ่อ: “จุ๊จุ๊เงียบๆพ่อไม่เข้าใจเลยว่าจะต้องแย่งกันทำไมในเมื่อลูกมีตุ๊กตาบาร์บี้ตั้ง11 ตัว และตุ๊กตาเคนซ์อีก 6 ตัวทำไมจะต้องแย่งตุ๊กตาตัวนั้นตัวเดียว….หา
          แอนนี่: “ก็มันสวยเป็นพิเศษนี่
          จากบทสนทนาข้างต้นจะเห็นว่าเกิดความวุ่นวายภายในครอบครัวคือลูกสาวทั้งสองครอบครัวแย่งตุ๊กตาบาร์บี้กันและในบทสนทนาจะเห็นว่ามีการใช้ภาษาที่เรียบง่ายเข้าใจไม่ซับซ้อนตรงไปตรงมา
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีการดำเนินเรื่องแบบให้ตัวละครเล่าเรื่องโดยผู้มีการถ่ายถอดคำพูดผ่านตัวละคร และได้มีการสรุปเรื่องราวไว้ต้นเรื่องเพื่อเป็นการเรียกจุดสนใจให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อและอยากทราบเรื่องราวว่าจะเป็นอย่างไรโดยมาการใช้ที่ซักจูงผู้อ่านให้สนใจได้อย่างแนบเนียน เช่น “ผมนึกว่างานชิ้นโบว์แดงของการเป็นพ่อแม่ คือ ต้องคอยเป็นกรรมการห้ามทัพเวลาลูกๆทะเลาะกันซะอีกจริงๆแล้วไม่จริงเสมอไป  ลูกๆอาจจะจัดการสงบเรื่องราวกันเองได้ ทำให้เราเหมือนกรรมเกินเสียมากกว่า(หน้า 37)
วิธีการตั้งชื่อเรื่อง
          การตั้งชื่อเรื่องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องโดยแฝงข้อคิดไว้ในชื่อเรื่อง  เช่น กรรมเกิน  เป็นการพูดเปรียบเทียบ  ว่าตัวเองเป็นกรรม ที่ต้องมาเป็นผู้ตัดสินระหว่างลูกสาวสองคน จนลืมไปว่าบ้างครั้งลูกควรต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อเราไปห้ามก็เหมือนเป็นส่วนเกินเหมือนในเรื่องที่คุณพ่อนที่เป็นเหมือนกรรมเกินนั้นเอง
การสร้างความสะเทือนใจ
                   ในเรื่องมีการสร้างความสะเทือนใจเกิดขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีเท่าไหร่ลูกๆอยู่ตรงนั้นด้วยและเป็นการสร้างความสะเทือนใจให้กับลูกๆ เช่น  “ผมบ่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งกลับกลายเป็นศึกระหว่างพ่อแม่แทน พอเราทะเลาะกันจนเหนื่อยเราก็เหลียวกลับมาดูลูกๆ.(หน้า 42)




วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                “เรื่องพ่อขาาาาารู้ไหม
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องให้มีความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรมของตัวละคร  เพื่อให้เกิดความสุกสนานเช่น เรื่องพ่อขาาารู้ไหมเป็นเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งซึ่งพ่อต้องรับภาระเลี้ยงลูกและลูกก็ซนเล่นของแต่ละอย่างเลอะเทอะไปหมดจนทำให้พ่อโมโหและเกิดเป็นเรื่องราวต่างๆขึ้น
แก่นเรื่อง
          ในเรื่องพ่อขาาาาารู้ไหมผู้เขียนมีการใช้แก่นเรื่องแบบแสดงทัศนะผู้เขียนมุ่งเสนอสอนในเรื่องของการเลี้ยงลูกเช่น ในเรื่องเป็นการแฝงแง่คิดว่าไม่ให้ถือสาเด็ก
ตัวละคร
          ตัวละครในเรื่องมีความคิดและพฤติกรรมที่สมวัย ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงตัวละครที่เป็นผู้ใหญ่ต้องพูดจาเป็นผู้ใหญ่ เช่น ในเรื่องพ่อขาาาาารู้ไหมในเรื่องมีตัวละครเด่นๆอยู่ 2ตัวละคร คือ
          คุณพ่อ: ซึ่งคุณพ่อต้องแบกรับหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูก
          แคทเทอรีน: เด็กจอมซน ที่ก่อความวุ่นวายทำห้องสกปรกเลอะเทอะทำให้พ่อต้องตาดเก็บ
บทสนทนา
          ในบทสนทนาการใช้ภาษาในการสนทนาแบบชีวิตประจำวันมีความเป็นธรรมชาติ เข้าใจง่าย และบทสนทนาที่เด่นๆคือ
          แคทเทอรีน: “พ่อขาาาา……รู้ไหม(หน้า 49)
          คุณพ่อ: “อะไรหรอจ๊ะ……แคทเทอรีน(หน้า 49)
          จากบทสนทนาข้างต้นเป็นบทสนทนาของแคทเทอรีนที่คุยกับพ่อและปรากฏอยู่ในเรื่องเยอะมาก


กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้แต่งมีการดำเนินเรื่องตามปฏิทินในเรื่องมีการลำดับเหตุการณ์อย่างเป็นลำดับบางครั้งมีการแทรกความรู้หรือรายละเอียดของเนื้อหาไว้ในการดำเนินเรื่อง ในเรื่องมีการลำดับความคิด ทำให้เด็กไม่เกิดความสับสน ตรงไปตรงมา เป็นต้น
วิธีการตั้งชื่อเรื่อง
          ผู้แต่งมีการแต่งชื่อเรื่องสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและแก่นเรื่องการแต่งชื่อเรื่องมีความกะทัดรัดใช้ภาษาง่ายๆทำให้ผู้อ่านเชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องได้
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องมีการสร้างความสะเทือนใจแบบสุขใจ เช่น “เธอนิ่งเงียบไปอึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า “หนู…..รักรัก….รักพ่อมาก(หน้า 52) เป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านเป็นอย่างมาก


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                 เรื่องข่าวดี
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องให้มีความขัดแย้งของตัวละคร ที่ทำให้เรื่องมีความสนุกสนานและมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่นเรื่องข่าวดีเป็นเรื่องราวที่พ่ออ่านหนังสือพิมพ์เรื่องสงครามและแคทเทอรีนลูกสาวของเขาก็สงสัยเรื่องการเกิดสงคราม พ่อก็เลยนึกถึงคนที่รบในสงครามเขาต้องแบกรับภาระหนักกว่าเยอะเพราะเขาต้องรักษาประเทศ  เมื่อเทียบกับผมดูแลแค่คนในครอบครัว
แก่นเรื่อง
          แก่นเรื่อง เรื่องข่าวดีเป็นแก่นเรื่องแสดงทัศนะคือ ผู้เขียนมุ่งสอนเสนอเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกเช่นการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการรักษาประเทศ
ตัวละคร
          ตัวละครในเรื่องมีความเป็นธรรมชาติและมีความสมจริงเช่น ตัวละครในเรื่องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและเรื่องมีตัวละครเด่นๆ คือ คุณพ่อ,      แคทเทอรีน
          คุณพ่อ: เป็นคนที่คิดในใจเสมอว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสมาก
          แคทเทอรีน: เป็นสาวน้อยขี้สงสัยและชอบตั้งคำถามต่างๆพ่ออยู่บ่อยๆ
ฉาก
          ฉากในเรื่องมีการบรรยายถึงบรรยากาศและสิ่งที่อยู่บริเวณรอบๆได้อย่างชัดเจน  และมีการใช้คำไวพจน์เพื่อดึงดูดผู้อ่าน  เช่น
“อากาศสดชื่นแจ่มใสที่สวนสาธารณะ….หมู่วิหคร้องเพลงขับขานประสนเสียงกันดังเซ็งแซ่ไพเราะเสนาะหูดูท่าทางร่าเริงเบิกบานคงจะเป็นเพราะว่ามันอ่านหนังสือพิมพ์ไม่ออกก็ได้(หน้า 60)

บทสนทนา
          บทสนทนาในหนังสือสำหรับเด็กที่มีความสมจริงและใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับฐานะบทบาทของตัวละครจากเรื่องข่าวดี ในหนังสือชุด เจ้าตัวแสบส์ส์ เช่น
แคทเทอรีน:      “มีสงครามเยอะไหม….พ่อ
คุณพ่อ:           “ไม่รู้ซิ
แคเทอรีน:        “สักสอง….ได้ไหม
คุณพ่อ:           “คงมากกว่านั้นมั้ง”  (หน้า 58)
กลวิธีในการดำเนินเรื่อง
          ผู้แต่งมีการดำเนินเรื่องโดยให้ตัวละครเป็นคนเล่าเรื่อง ในเรื่องเนื้อเรื่องเข้าใจง่าย เนื้อหาไม่ซับซ้อน  หรือยากจนเกินไปทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสนมีการเรียงลำดับเรื่องราว   ได้อย่างเหมาะสม
การตั้งชื่อเรื่อง
          สำหรับผู้จัดทำชื่อเรื่องและเนื้อหายังไม่สอดคล้องกันเท่าไหร่นักเพราะเนื้อหาจะมุ่งเน้นว่าแบ่งต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงลูกแต่ไม่หนักเท่าคนที่กำลังรักษาประเทศในเนื้อหาไม่ได้เน้นและเกี่ยวพันกับเรื่องมากนัก
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องไม่มีการสร้างความสะเทือนไม่ปรากฏ


         


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                เรื่องพ่อไม่เมา
โครงเรื่อง 
          เรื่องพ่อไม่เมาเป็นเรื่องที่ผู้เขียนวางโครงเรื่องไว้แบบความขัดแย้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ ในเรื่องมีเหตุการณ์คือคุณพ่อไปงานเลี้ยงและดื่มมานิดหน่อยพอมาถึงบ้านเกิดเหตุการณ์คือคุณพ่อลื่นสเกตล้มและทับคุณแม่ให้บาดเจ็บและเกิดเรื่อราวต่างเกิดขึ้นมากมาย
แก่นเรื่อง
          ในเรื่องผู้เขียนใช้แก่นเรื่องแสดงทัศนะด้านคุณธรรมเป็นความคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยให้ตัวละครของเรื่องเป็นผู้แสดงทัศนะ เช่น  ให้รู้จักรับฟังปัญหาของอื่นก่อนเสมอ
ตัวละคร
          ตัวละครในเรื่องผู้เขียนได้เขียนแบบการสร้างตัวละครให้สมจริง  คือการสร้างตัวละครที่เป็นไปตามธรรมชาติและในเรื่องตัวละครมีความเหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับ เช่น
คุณพ่อ: คุณพ่อเป็นตัวละครหลัก  เพราะเหตุการณ์เกิดจากที่คุณพ่อลื่นสเกต แต่คนอื่นเข้าใจผิดว่าพ่อทำให้หัวชนกันกับแม่
ซูซี่: ซูซี่เป็นภรรยาที่คอยดูแลสามีและลื่นล้มหัวชนกันกับคุณพ่อและตาเขียวซ้ำทำให้คนอื่นเข้าใจผิด
ฉาก
          ฉากมีความสอดคล้องกับโครงเรื่องและมีความกลมกลืนกับตัวละคร  เช่น “เมื่อเรากลับถึงบ้าน….มืดมากเสียจนผมไม่ได้สังเกตเห็นว่ามีสเกตบอร์ดวางทิ้งอยู่หน้าบ้านผมจึงเหยียบมันและหงายหลังทันที…..(หน้า 63)
บทสนทนา
          บทสนทนาในเรื่องมีความสมจริงและมีการใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมกับฐานะบทบาทของตัวละคร จากเรื่อง พ่อไม่เมา เช่น
แอนนี่: “พ่อทำไมพ่อไม่ขับรถล่ะคะ
คุณพ่อ: “เพราะว่า…….พ่อดื่มเบียร์มากหน่อย
แอนนี่: “เมา……เหรอคะพ่อ(หน้า 63)
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ในเรื่องเป็นการเล่าเรื่องย้อนต้นคือ เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนท้ายเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยก่อนและจึงเล่าเรื่องทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนกระทั่งจบ เช่น  ในการเริ่มเร่องมีการบอกถึงเวลา คือ  “เมื่อสองเดือนก่อน….ผมกับซูซี่ไปช่วยจัดงานขายอาหารหาทุน(หน้า 63) จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าผู้เขียนมีการใช้กลวิธีการดำเนินเรื่องแบบย้อนต้น
การตั้งชื่อเรื่อง
          ในเรื่องพ่อไม่เมา  เป็นการตั้งชื่อเรื่องตามเหตุการณ์สำคัญหรือจุดสำคัญของเรื่อง เช่น พ่อล้มเพราะลื่นสเกตบอร์ด พ่อไม่ได้เมา  เป็นต้น
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องมีการสร้างความสะเทือนใจเรื่องหนึ่งคือ ตอนที่คุณพ่อไปส่งแอนนี่ที่โรงเรียนและมีคนซุบซิบๆทำให้คุณพ่อ รู้สึกงง และรู้สึกแปลก เพราะไม่มีใครมาพูดตรงๆและพากันไปสรุปเรื่องเองไม่ทันถามเจ้าตัว


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                     เรื่องของหาย
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการกำหนดโครงเรื่องโดยมมีการกำหนดให้มีความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรมของตัวละคร  ถือเป็นความขัดแย้งที่สำคัญที่สุดของผู้เขียน เพราะความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรมของตัวละครทำให้เกิดเรื่องราวสนุกสนาน เช่น เรื่องของหาเป็นเรื่องราวของลูกที่เก็บของไม่เป็นที่และหาของไม่เจอและต้องให้พ่อแม่หาช่วย คุณพ่อมีนิสัยเหมือนกับแอนนี่ลูกสาวของเธอที่เป็นคนขี้ลืมหาอะไรไม่เจอสักทีจนต้องให้ซูซี่มาหาให้ เป็นต้น
แก่นเรื่อง
          แก่นเรื่องมีการแฝงคติในการดำรงชีวิตและการส่งเสริมจิตใจขอเด็กให้ดีขึ้นผู้เขียนมีการใช้แก่นเรื่องแสดงทัศนะ  คือมีการมุ่งเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ตัวละครของเรื่องเป็นผู้แสดงทัศนะ เช่น ให้ลูกเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความอดทนอดกลั้น
ตัวละคร
          ผู้เขียนมีการสร้างตัวละครให้สมจริง คือสร้างตัวละครให้มีลักษณะเป็นไปตามี่เป็นได้ตามธรรมชาติ เช่น
          คุณพ่อ: คุณพ่อจะชอบอ่านหนังสือพิมพ์ แต่เป็นคนที่ขี้ลืมและชอบวางของไว้และหาไม่เจอ
          คุณแม่: คุณแม่เป็นคนเรียบร้อย  เก็บของเป็นระเบียบและคอยหาของให้พ่อตลอด
          แอนนี่: แอนนี่เป็นเด็กฉลาดขี้สงสัยแต่ชอบวางของไม่เป็นที่และหาไม่เจอเหมือนคุณพ่อ
ฉาก
          ฉากหรือบรรยากาศในเรื่องคือที่บ้านซึ่งผู้เขียนมีการเขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านแต่ไม่มีการบรรยายฉากให้เห็นมากนัก

บทสนทนา
          บทสนทนาในเรื่องมีกรโต้ตอบกันทำให้เรื่องมีความบันเทิงและมีความน่าสนใจ มากกว่าการบรรยายเพียงอย่างเดียว  เช่น
          แอนนี่“หนูหาตุ๊กตาเจอจริงๆค่ะพ่อ
          คุณพ่อ: “ลูกหาดูในห้องนอนแล้วใช่ไหม
          แอนนี่: “ค่ะ
          คุณพ่อ: “ลูกหาดูที่อื่นแล้วหรอ(หน้า 70)
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีการดำเนินเรื่องแบบให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมีความจริงและดำเนินเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมีความน่าสนใจ ตรงไปตรงมา ทำให้เด็กอ่านแล้วไม่เบื่อง่าย
การตั้งชื่อเรื่อง
          ผู้เขียนมีการตั้งชื่อเรื่องสอดคล้องกับเนื้อหาและแก่นเรื่อง เช่น  เรื่องของหาย เป็นต้น
การสร้างความสะเทือนใจ
          ไม่ปรากฏเหตุการณ์หรือเรื่องราวเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ

วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                                เรื่องวันแม่
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนได้เขียนโครงเรื่องแบบความขัดแย้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มีการสร้างเหตุการณ์การแสดงบทบาทของตัวละคร  จนเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น เช่นเรื่องวันแม่ เป็นเรื่องราวครอบครัวหนึ่งที่กำลังจัดงานวันแม่ และพ่อก็ได้ทำอาหารต่างๆเพื่อจะฉลอง กับแม่แต่ลูกๆมาแย่งซูซี่ซึ่งเป็นภรรยาของพ่อจนหมดและลูกๆก็มานั่งแทนที่แม่และลูกๆเลยถามว่าไม่มีวันลูกบ้างหรอคะพ่อเลยยิ้มและคิดในใจว่าวันของลูกสำหรับพ่อแม่มีให้ทุกวัน
แก่นเรื่อง
          ผู้เขียนมีการกำหนดแก่นเรื่องแบบแสดงอารมณ์  คือเป็นแก่นเรื่องที่แสดงความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามเช่น  ในเรื่องวันแม่มีแก่นเรื่องคือ   วันแห่งความรักเกิดขึ้นได้ทุกวัน
ตัวละคร
          ตัวละครในเรื่องมีความสมจริง มีการสร้างตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นเช่น
คุณพ่อ: คุณพ่ออยากฉลองวันเกิดให้แม่ของลูกซึ่งเป็นภรรยาพ่อ
คุณแม่: เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยแลละรักลูก
แอนนี่: เป็นลูกสาวคนแรกที่มีความซนกินอาหารเลอะเทอะตลอด
แคทเทอรีน: เป็นเด็กชอบกินแลละเป็นเด็กที่ชอบสงสัย
ฉาก
          ผู้เขียนไม่ได้บรรยายถึงฉากในเรื่องมากเท่าไหร่นัก จะมีเหตุการณ์ฉากคืออยู่ที่บ้านและนั่งอยู่บนที่นอนเป็นฉากที่เห็นได้ชัด เช่น  “เมื่ออาหารมาถึงที่นอน…..ทั้งแอนนี่และแคทเทอรีนก็รีบกุลีกุจอขึ้นไปนั่งบนตักแม่ และเริ่มลงมือรับประทานอาหารเช้านั้น แอนนี่จุ่มขนมปังปังลงในชาส่วนแคทเทอรีนก็จิ้มนิ้วลงไปที่ตรงกลางไข่แดงแล้วยกนิ้วขึ้นดูด(หน้า 80)

บทสนทนา
          ในเรื่องมีการใช้ภาษาพูดที่สมจริงสอดคล้องกับตัวละครบุคลิกและสถานการณ์ของเรื่อง เช่น
แอนนี่: “เอ่อ…..วันนั้นเป็นวันแม่ใช่ไหมคะ
คุณพ่อ: “ก็ใช่นะสิ……แล้วไง
แอนนี่: “เอ่อ…..แล้วเมื่อไหร่….จะถึงวันของลูกสักทีล่ะคะ(หน้า 82)
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีการดำเนินเรื่องตามลำดับปฏิทิน คือมีการเล่าเรื่องราวต่างๆตามลำดับเวลาเหตุการณ์และมีการแทรกรายละเอียดที่จำและมีการแทรกเนื้อหาไว้ในการดำเนินเรื่องด้วยในเรื่องวันแม่มีการลำดับความคิดเพื่อให้เด็กไม่เดความสับสนอีกด้วย
การตั้งชื่อเรื่อง
          ผู้เขียนมีการตั้งชื่อเรื่องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและแก่นเรื่อง มีการใช้ภาที่กระชับเข้าใจง่าย และมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในเรื่อง
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องมีการสร้างความสะเอนใจแบบสุขใจ  ประทับใจ คือ การที่ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้ากันและมีลูกๆล้อมรอบกันอย่างมีความสุขเช่น “หลังจากนั้น….แอนนี่และแคทเทอรีนต่างก็ปีนขึ้นเตียงมาซุกแนบ อยู่ระหว่างซ้ายขวาของซูซี่แล้วอ่านนิทานกันอย่างมีความสุข


วิเคราะห์เรื่องสั้น เจ้าตัวแสบส์ส์
                                      เรื่องใครหนอทำให้พ่อรักในสิ่งที่ไม่ชอบ
โครงเรื่อง 
          ผู้เขียนมีการวางโครงเรื่องแบบความขัดแย้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การสร้างเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งกันไม่ว่าจะเป็นฉากหรือบทบาทของตัวละคร จนเกิดเหตุการณ์ใหม่ขึ้นและทำให้เกิดอามรณ์ความรู้สึกที่แตกต่างในเรื่องเดียวกันเช่น  เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งซึ่งคุณพ่อไม่ชอบสัตว์แต่ลูกๆอยากเลี้ยงสัตว์และคุณพ่อตัดสินใจให้เลี้ยงเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้น
แก่นเรื่อง
          ลูกชอบอะไร พ่อก็ชอบด้วย
ตัวละคร
          ผู้เขียนมีสร้างตัวละครให้สมจริง คือ มีการสร้างตัวละครให้มีลักษณะที่เป็นไปได้ตามธรรมชาติ ตัวละครในเรื่องมีทั้งหมด  4 ตัวละครคือ คุณพ่อ คุณแม่ แอนนี่ แคทเทอรีน
          คุณพ่อ: เป็นคนที่ไม่รอบเลี้ยงสัตว์  เพราะไม่กล้านำมาเลี้ยงกลัวมีปัญหาตามมาภายหลัง
          คุณแม่: เป็นคนที่สนับสนุนให้ลูกเลี้ยงสัตว์
          แคทเทอรีน: มีสัตว์เลี้ยงชื่อ หนูน่ารักน่าซัง
          แอนนี่: มีสัตว์เลี้ยงชื่อ ตะเภา  มีลักษณะธรรมดาๆ
ฉาก
          ฉากในเรื่องมีความสอดคล้องกับโครงเรื่อง แต่มีอยู่ฉากหนึ่งที่ใต้ต้นไม้เป็นบรรยากาศของความศกเศร้า ซึ่งผู้เขียนให้ตัวละครเป็นคนถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริง เช่น
“ลาก่อน….เจ้าหนู”  เธอกระซิบ แล้วเธอก็ร้องไห้จน หน้าตายู่ยี่  (หน้า 90)

บทสนทนา
          มีการภาษาที่สมจริงสอดคล้องกับตัวละคร บุคลิก และสถานการณ์ของเรื่อง  เช่น
แอนนี่: “ขอพี่อุ้มบ้างซิ
แคทเทอรีน: “ไม่ให้…….ของพี่ก็มี….นี่ของหนูนะ
คุณแม่: “ขอแม่อุ้มบ้าง…..ไม่งั้นแม่จะทำโทษนะ (หน้า 88)
กลวิธีการดำเนินเรื่อง
          ผู้เขียนมีการดำเนินเรื่องแบบให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่อง  โดยให้ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่องเป็นตัวเล่าเรื่อง ในเรื่องใครหนอทำให้พ่อรักสิ่งที่ไม่ชอบ ก็จะเป็นตัวพ่อที่เป็นคนเล่าเรื่องและทำให้เรื่องดำเนินต่อไปได้
การตั้งชื่อเรื่อง
          การตั้งชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับตัวละคร และการตั้งชื่อเรื่องมีความกะทัดรัด ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาได้ และชื่อเรื่องมีความสมจริง สอดคล้องกับเนื้อหา
การสร้างความสะเทือนใจ
          ในเรื่องมีการเกิดเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจคือ สัตว์เลี้ยงของแอนนี่และแคทเทอรีนตายทำให้ในเรื่องมมีแต่ความโศกเศร้า เช่น “ไปแล้วไม่ไปลับ คงยังอยู่ในหัวใจของพวกเราลอดไป”  (หน้า 90)



อ้างอิง
          คอลลิน  โบว์เลส. (2535).เจ้าตัวแสบส์ส์.กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรสัมพันธ์.